วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

5 ข้อสังเกตุ ในการหาเงินออนไลน์ รู้ไว้ก่อนโดนหลอก

5 ข้อสังเกตุ ในการหาเงินออนไลน์  รู้ไว้ก่อนโดนหลอก

           แหล่งสร้างรายได้บนอินเทอร์เน็จ มีให้เลือกหลากหลายวิธี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัด หรือความชอบ ของแต่ละท่านว่าต้องการเลือกวิธีการสร้างรายได้อย่างไร ซึ่งมีทั้งระะบบขึ้นมาใหม่เป็นของตัวเอง หรือใช้บริการที่มีอยู่แล้ว เชาน ห้างสรรพสินค้าออนไลน์, ตลาดกลางออนไลน์, โฆษณาออนไลน์, เขียนบทความออนไลน์ หรือ Blog เป็นต้น แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกบริการของใคร เราต้องมั่นใจก่อนว่าเราไม่ถูกหลอก เว็บนั้นๆ เชื่อถือได้หรือไม่ ในสังคมโลกไซเบอร์ เป็นสังคมที่สื่อสารกันผ่านข้อความดิจิตอล หรือ เสียง แต่ไม่เห็นหน้าเห็นตากัน จึงทำให้เราอาจจะถูกผู้หวังดีแต่ประสงค์ร้ายหลอกลวงเอาได้ 

           ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานะผู้ซื่อหรือผู้ขาย เราต้องตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าเว็บไซต์ หรือแหล่งข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือได้ และน่าสนใจที่จะร่วมงาน หรือลงทุนด้วย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรละว่าเว็บไหนเชื่อถือได้หรือไม่ ขอแนะนำวิธีง่ายๆ 5 วิธี ที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเองครับ

1. คุณลักษณะของเว็บไซต์ (Identity)


           ก่อนอื่นเลยเราต้องดูคุณลักษณะของเว็บไซต์ว่าเป็นเว็บที่ให้บริการอะไร มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร เนื้อหาเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือความต้องการของเราหรือไม่ เนื้อหาเหล่านั้นสุ่มเสี่ยงหรือมีเนื้อหาอื่นแอบแฝงอยู่หรือไม่ ที่มักจะพบบ่อยๆ ก็เป็นการแทรกโฆษณาขายภาพโป๊ หรือคลิปโป๊ และการออกแบบเว็บไซต์ดูน่าสนใจดึงดูดให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมหรือไม่

2. ชื่อเสียงของเว็บไซต์ (Reputation)

          อีกแนวทางหนึ่งที่เราจะได้รู้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นเชื่อถือได้หรือไม่ ก็คือชื่อเสียงของเว็บไซต์ว่าอยู่ในแดนบวกหรือลบจากผู้ที่เคยมาเยี่ยยชม หรือใช้งานเว็บไซต์นั้นๆมาก่อน โดยสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นๆได้ ผ่านพวก Search Engine เช่น Google, Yahoo เป็นต้น หรือศึกษาดูข้อมูล จากกระทู้ หรือ  Web Board ต่างๆเช่น Pantip, Sanook หรือ Web Board ของเว็บไซต์นั้นๆ โดยตรง แล้ววิเคราะห์ดูว่าส่วนใหญ่เขากล่าวถึงเว็บไซต์นั้นๆอย่างไร เพราะข้อมูลต่างๆ ที่โพสต์ไว้บนอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็นความจริง และมีวัตถุประสงค์เพื่อโจมตีใส่ร้ายคนอื่น เราต้องวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน หรือลองดูรายชื่อเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือหรือเป็นอันตรายหรือเป้นอันตรายจากเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ขึ้นบัญชีดำ หรือ Blacklist ได้แก่ http://sampan.exteen.com/page-10 เป็นต้น

3. ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ (Creditability)

          ความน่าเชื่อถือ (Creditability) คือสิ่งหรือเร่ืองที่เชื่อถือได้ ข้อมูลสารสนเทศเหล่านั้นเชื่อได้ ก็คือ มีความน่าเชื่อถือ เราสามารถที่จะเชื่อได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นจะประเมินว่าเว็บไซต์นั้นๆ มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพหรือไม่ จะพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. ออกแบบเว็บไซต์แสดงเอกลักษณ์ของธุรกิจ และมีความเป็นหนึ่งเดียว ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ และสินค้าหรือบริการ มีข้อมูลสถานที่และบุคคลที่จะติดต่อได้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ได้
  2. ออกแบบให้ใช้งานง่าย สามารถเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้ไม่เกิน 3 คลิก ไม่สร้างความสับสนแก่ผู้ใช้งาน ไม่ต้องเรียนรู้การใช้งานใหม่ทุกครั้งที่เข้าเว็บไซต์ 
  3. ออกแบบให้สวยงาม ดูดี มีรสนิยม และโหลดเร็ว
  4. ไม่มีป้ายโฆษณามากเกินไป และวางในตำแหน่งที่เหมาะสม เพราะการมีป่ายโฆษณาที่เป็น Pop-up จะน่ารำคาญสำหรับผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ไม่อยากเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์อีกในภายหลัง
  5. ทุกลิงก์ (Link) สามารถใช้งานได้ ต้องไม่มีลิงก์ใดที่คลิกแล้วไม่พบข้อมูล หรือ ขึ้นว่า Under Construction 
  6. ใช้คำพูดที่สุภาพและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
  7. จัดเรียงข้อความสวยงาม จัดช่องไฟอย่างเหมาะสม และไม่มีคำสะกดผิด
  8. เอาใจใส่ต่อผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ มี Web board หรือบริการเสริมอื่นๆ เช่น ระบบสมาชิก, ระบบเมล์ ไว้บริการ
4. มีเครื่องหมายใดๆรับประกันหรือไม่ (Quality Guarantee)
Quality Guarantee
           นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลแล้ว นอกจากนี้อีกสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับเราได้ ก็คือเว็บไซต์นั้นๆ ได้รับการรับรองคุณภาพ หรือ Guarantee จากองค์กรหรือหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ หรือระดับสากลหรือไม่ เช่น เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (Trustmark), การรักษาความปลอดภัยในการชำระเงินออนไลน์ด้วยบัตรเครดิตของวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด (Verified by VISA and MasterCard SecureCode) หรือ มีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล SSL (Secure Socket Layer) สังเกตุโปรโตคอลที่ใช้จะเป้น https:// เป็นต้น

5. เว็บไซต์หลอกหลวง (Phishing SCAM Website)

           อันุสดท้ายน่ะครับ คือ Phishing อ่านว่า ฟิชชิ่ง เปรียบได้กับการเอาเหยื่อมาล่อให้ปลาติดกับพวก Phishing Website ก็เช่นกัน เป้นการสร้างเว็บปลอมหรือปลอมแปลงอีเมล์ เพื่อหลอกลวงให้เหยือหรือผู้รับอีเมล์เปิดเผยข้อมูลความลับส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต, รหัสผ่าน (Password), เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น โดยจะทำการคัดลอกสัญลักษณ์ เครื่องหมาย และรูปแบบเว็บของธนาคาร สถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง และสถาบันให้บริการบัตรเครดิตดังนั้นเราจะต้องพิจารณาให้ดี อาจจะดูจาก URL บน Address bar ซึ่งพวก Phishing จะตั้งชื่อ Domain name คล้ายๆกับเจ้าของจริง เช่น http://www.aol.com เปลี่ยนจาก l เป็น 1 หรือมีอีเมล์มาแจ้งเกี่ยวกับบัญชีของเราว่าหมดอายุหรือมีัญหาใดๆ ควรตรวจสอบกับธนาคารโดยตรง อย่าหลงเชื่อตอบกลับหรือให้ข้อมูลใดๆ ผ่านทางระบบออนไลน์

Phishing SCAM Website
ตัวอย่าง Phishing SCAM Website โดยจำลอง Facebook

">

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น